Tasmanian Tiger
เสือตัวที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายๆกับสุนัขในบ้านเรา แต่มีฟันหน้าที่แหลมคม นอกจากนั้นลำตัวและหางของเสือประเภทนี้มีลักษณะคล้ายๆกับจิงโจ้ บางครั้งมันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนจิงโจ้ด้วย เสือทัสมาเนียที่ชาวออสเตเลียเคยเห็นเป็นขนปุยลายทางสีน้ำตาลอ่อน มีสีดำสลับที่สันหลังค่อนไปทางก้น
เล่ากันว่าเสือประเภทนี้โดยนิสัยไม่ค่อยวิ่ง เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ประเภทวิ่งเร็วเหมือนกับสัตว์กินเนื้ออื่นๆ การจับเหยื่อของมันเป็นอาหาร ก็ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าเหยื่อเหมือนเสืออื่นๆ แต่มันจะค่อยๆทำให้เหยื่อเหนื่อยหรืออ่อนล้า โดยการตามไปเรื่อยๆ ก่อนจะจับกินเป็นอาหาร โดยเสือทัสมาเนียอย่างที่ว่านี้จะชอบกินอวัยวะของเหยื่อสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่อย่าง วอลลาบี จิงโจ้ ไปจนถึงแบนดีคู้ต หนู และนก ของโปรดจากอวัยวะของสัตว์เหล่านั้นได้แก่ คอ จมูก ตัว และไต หลายคนสงสัยว่าเสือที่ว่าเห่าหอนอะไรบ้างหรือเปล่า นักสัตวศาสตร์ก็บอกว่ามันไม่ค่อยเห่าหอนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบ้างในบางครั้ง แต่ก็นานๆทีว่างั้นเหอะ
ลักษณะทางกายภาพของสัตว์ประเภทนี้ ว่ากันว่าเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 35 กก. ลำตัวยาวประมาณเมตรครึ่ง อายุขัยของมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีตัวหนึ่งที่เคยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนมีอายุถึง 10 ปี ส่วนตัวที่อยู่ทัสมาเนียมีอายุถึง 12 ปี มีการพบเห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเสือทัสมาเนียครั้งสุดท้าย ในเวสต์ออสเตเลีย บนแผ่นดินใหญ่ แต่พบเป็นฟอสซิล หรือซากศพที่ติดอยู่ในหินอายุประมาณ 3,100 ปี
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เสือทัสมาเนียสูญพันธุ์อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ประการที่เห็นชัดๆได้แก่การที่ผู้คนไม่ใส่ใจจะอนุรักษ์สัตว์ประเภทนี้ไว้ก็ได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจเกิดมาจากโรคระบาด หรือเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้มันเสียชีวิต บางส่วนก็เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะถูกล่า เนื่องจากเสือเหล่านี้เข้าไปกัดกินแกะของชาวไร่ ชาวนา ปัจจุบันถ้าอยากเห็นหนังเสือและเสือเป็นตัวๆ (ตายแล้ว) ก็เข้าไปดูได้ที่ Tasmanian Museum and Art Gallery ที่ Hobart เมืองหลวงของรัฐซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ ที่นั่นท่านจะเห็นสัตว์พื้นเมืองต่างๆของออสเตเลียเพียบ
ดั้งเดิมจริงๆเสือชนิดนี้แพร่พันธุ์ทั่วไปในนิวกีนีและทัสมาเนียเมื่อ 4,000 ปีก่อน เสือที่ว่านี้ค่อยๆหายไปจากนิวกีนีและออสเตเลีย พร้อมๆกับการแพร่พันธุ์ของสุนัขดิงโก้ และหมาป่า แต่โชคดีที่หมาที่ว่านี้ไม่แพร่พันธุ์เข้ามาทัสมาเนีย เพราะทัสมาเนียเป็นเกาะมีน้ำคั่นกลาง หมาดิงโก้คงว่ายน้ำข้ามมาไม่ได้ เพราะช่องแคบบาสส์ (Bass Strait) นั้นกว้างถึง 200 กม. เลยทำให้เสือยืดอายุมาได้นานกว่าที่อื่นๆในออสเตเลีย
อีกกระแสหนึ่งบอกว่า เมื่อชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ๆนั้น เสือทัสมาเนียก็เริ่มหดหายไป เนื่องจากพวกที่เข้ามาใหม่นั้นนำแกะเข้ามาเลี้ยง เมื่อปี พ.ศ.2376 โดยบริษัท Van Diemens Land Co. ให้ค่าหัวในการล่าเสือทัสมาเนีย ต่อมารัฐบาลสั่งห้ามการล่าดังกล่าวเสีย แต่กว่าจะหยุดได้ก็ทำให้เสือดังกล่าวหายากมาก ตามบันทึกบอกว่าเสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายของโลกตายในสวนสัตว์โฮบาร์ตทัสมาเนียเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2479 และในปีนี้เองรัฐบาลประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการของเสือชนิดนี้
เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวครึกโครมออกไปทั่วโลกว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีชุบชีวิตเสือดังกล่าวได้แล้วโดย ดร.ไมค์ อาร์เชอร์ (Mike Archer) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ออสเตเลียน ออกมาแถลงว่ามีแผนที่จะทำโคลนนิ่งเสือชนิดนี้ โดยนำเอาเซลล์ของเสือที่ดองแอลกอฮอล์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2409 มาสกัด DNA นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ยืนยันว่าทำได้แน่ๆ ในเร็วๆนี้...
นางสาวบุณสิตา ศรีกิจ
115510503436-8
การจัดการทรัพยากรมนุษย์
section 13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น